วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบการหมุนเวียนเลือด

         เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด

         ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด


เลือด
(Blood) ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ดเลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด
(Platelet)
เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีน
และเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม* จะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล
น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลื่อเป็นสารอาหารต่าง ๆ เช่นโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และก๊าซ เส้นเลือด(Blood Vessel)
คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง
เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย
หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง -หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium) มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด -หัวใจห้องบนขวา(Right atrium) มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว -หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle) มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด -หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle) มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย


 การไหลเวียนของเลือดเริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา ห้องล่างขวาจะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดจะเข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้ายแล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย หัวใจก็จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล้างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ ซึ่งต่อมาก็แยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือดที่ใช้แล้วก็จะไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต เพื่อให้เห็นชัดเจนขอให้ดูแผนภาพต่อไปนี้

ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้
1. นำอาหารและสารอื่น ๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกลับมาใช้
3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึมเพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ


ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูงทำให้เลือดไปเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้นก็จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอทจึงมีสองค่า เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท
ตัวเลข 110 แสดงค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ
ตัวเลข 70 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ


ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้าย จะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ภายใน สิ่งนั้นเรียกว่า ชีพจร
ชีพจรเป็นการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยคนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70
80 ครั้ง /นาที ในวัยเด็กที่มีสภาพร่างการปกติชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ การออกกำลังกายก็มีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจร การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติ จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น จะพบว่าชีพจรก็จะเต้นเร็วขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น
จึงกล่าวได้ว่าการเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย
เครื่องมือที่ใช้ในการฟังการเต้นของชีพจรคือ สเตโทสโคป (
stethoscope)

การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
2. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์
3. พักผ่อนให้มาก เพราะการพักผ่อนนอนหลับจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง
4. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
5. ทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง ไม่เครียด
6. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด